การเทเมล็ดถั่วขนาดใหญ่จากเหยือกใบหนึ่งไปยังเหยือกอีกใบที่เหมือนกัน

อุปกรณ์                          

  • เหยือกที่เหมือนกันสองใบ
  • เมล็ดถั่วขนาดใหญ่
  • ถาด                         

จุดประสงค์โดยตรง             

เพื่อสอนให้เด็กรู้จักวิธีการเทเมล็ดถั่วจากภาชนะขนาดเล็ก

จุดประสงค์ทางอ้อม            

  • เพื่อพัฒนาการทำงานประสานสัมพันธ์ของมือและตา
  • เพื่อพัฒนาทักษะและความชำนาญของกล้ามเนื้อต่างๆ
  • เพื่อฝึกสมาธิ
  • เพื่อให้เด็กมีความเป็นตัวของตัวเอง
  • เพื่อให้เด็กเกิดความมีระเบียบวินัย
  • เพื่อเตรียมความพร้อมเด็กสำหรับกิจกรรมการเทวัสดุอื่นๆต่อไป                             

การควบคุมความผิดพลาด      

เมล็ดถั่วที่หก สามารถทั้งรับรู้ได้เห็นและได้ยิน

คำศัพท์ที่ได้                       

การสาธิตจะทำโดยไม่ใช้เสียง จะแนะนำศัพท์ต่างๆหลังการสาธิต หากเด็กต้องการเฉพาะคำที่เกี่ยวข้อง เช่น ถือ หูจับ เท เหยือก เป็นต้น

ระดับอายุ                         

2 ½ ปีขึ้นไป

การแนะนำ                       

กิจกรรมนี้เป็นการแนะนำรายบุคคล

  • ชักชวนเด็กไปที่ชั้นวางสื่อ แนะนำให้เด็กรู้จักกิจกรรมและสาธิตการยกถาดอุปกรณ์ไปยังโต๊ะที่จะทำงาน
  • วางถาดลงบนโต๊ะ แล้วนั่งลงข้างๆเด็กทางฝั่งที่เด็กถนัด
  • กล่าวกับเด็กว่า “นี่คือวิธีการเทเมล็ดถั่ว ดูครูก่อน เสร็จแล้วครูจะให้ลองทำ”
  • ก่อนที่จะเริ่มกิจกรรม ให้หมุนหูจับของเหยือกทั้งสองใบหันมาด้านหน้าครู
  • ใช้มือข้างที่ถนัดจับหูเหยือก โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางสอดใต้หูจับและใช้นิ้วหัวแม่มือจับขอบด้านบนของหูจับ หมุนให้ปากเหยือกหันไปทางเหยือกอีกใบที่จะเทเมล็ดถั่วลง
  • ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างช่วยพยุงใต้ปากเหยือกไว้
  • ค่อยๆ ยกเหยือกขึ้นจนพ้นระดับปากของเหยือกที่อยู่ด้านซ้ายของถาด
  • เอียงเหยือกให้เมล็ดถั่วเทลงมาเป็นสายจากเหยือกหนึ่งไปสู่อีกเหยือกหนึ่ง
  • มองดูในเหยือกว่ายังมีเมล็ดถั่วหลงเหลืออยู่หรือไม่
  • วางเหยือกกลับลงที่เดิม ปล่อยมือ
  • หยิบเหยือกทางซ้ายมือซึ่งตอนนี้บรรจุเมล็ดถั่วไว้ เทกลับไปที่เหยือกใบเดิมด้านขวาด้วยวิธีการเดียวกัน  แล้ววางเหยือกลงบนถาด
  • ดูในถาดว่ามีเมล็ดถั่วหกหรือไม่
  • หากเห็นเมล็ดถั่วหก ให้ค่อยๆใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือข้างที่ถนัด หยิบเมล็ดถั่วขึ้นมา ใส่กลับลงไปในเหยือกขวามือ
  • เลื่อนถาดไปด้านหน้าเด็ก แล้วชักชวนให้เด็กลองทำดู
  • เมื่อเด็กทำกิจกรรมเสร็จแล้วแนะนำให้เด็กนำถาดอุปกรณ์กลับไปเก็บไว้ที่เดิม

แบบฝึกหัด

เด็กเลือกทำกิจกรรมได้อีกเมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ

จุดสำคัญ

เสียงเมล็ดถั่วที่กระทบภาชนะขณะเทรูปทรงและแบบของเหยือก

อื่นๆ

  • เปลี่ยนเหยือกคู่ใหม่ที่มีขนาดหรือน้ำหนักแตกต่างจากเหยือกคู่แรก
  • เปลี่ยนวัสดุที่จะเท เช่น เปลี่ยนเป็นเท พาสต้า หรือเมล็ดพืชอื่นๆที่มีขนาดใหญ่พอที่จะเทอย่างช้าๆได้

ขั้นต่อไป

ใช้เมล็ดถั่วที่เล็กลง ซึ่งจะทำให้ยากขึ้น